วันพุธที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

พีระมิดใต้น้ำ อนุสาวรีย์โยนากุนิ อารยะแห่งแดนอาทิตย์อุทัย


พีระมิดใต้น้ำ อนุสาวรีย์โยนากุนิ อารยะแห่งแดนอาทิตย์อุทัย


ณ บริเวณชายฝั่งของเกาะเล็กกระจ่อยร่อยในญี่ปุ่นนามว่า โยนากุนิ 
สิ่งก่อสร้างลักษณะคล้ายอนุสาวรีย์ยักษ์ได้จ่อมจมอยู่ใต้น้ำ    
มันเป็นวิหารหินขนาดมหึมาที่แม้ปัจจุบันหลายฝ่ายก็ยังถกเถียง   
และหาคำอธิบายที่ฟังขึ้นเกี่ยวกับมันไม่ได้ ประเด็นที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์กันมากที่สุดก็คือว่า   
อนุสาวรีย์แห่งโยรากุนินี้ เกิดขึ้นจากธรรมชาติหรือเกิดจากผลงานทางอารยธรรมของมนุษย์    
ถ้าเป็นฝีมือมนุษย์ เทคโนโลยีขนาดไหนถึงจะรังสรรค์มันออกมาให้เกิดขึ้นได้ในรูปลักษณ์ที่โอ่อ่า
อลังการเช่นนี้ หากเกิดจากธรรมชาติ คำอธิบายเกี่ยวกับเหลี่ยมมุมและแนวกำแพงที่ตรงแหนวแม่นยำ
ราวกับเกิดจากการ วัดคำนวณของวิศวกรมือเอกนี่เล่า จะอธิบายอย่างไร?



บรรดานักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่นที่ได้ทำการศึกษาเรื่องนี้   ต่างพากันลงความเห็นว่าอนุสาวรีย์ยักษ์นี้เกิดขึ้นจากฝีมือของมนุษย์  ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้นจริงๆ อนุสาวรีย์หินที่โยนากุนิก็นับเป็นการค้นพบทางโบราณคดีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในรอบศตวรรษ   โดยเฉพาะในประเด็นของโบราณสถานใต้น้ำ แต่ก็นั่นล่ะครับ อายุอานามของอนุสาวรีย์(ขอเรียกแบบนี้ไปก่อนละกัน)แห่งนี้   
     เท่าที่คำนวณคร่าวๆแล้ว นักวิทยาศาสตร์หลายคนลงความเห็นว่า น่าจะอยู่ในตอนปลายของยุคน้ำแข็ง ซึ่งมันก็หมื่นสองพันกว่าปีมาแล้ว บางท่านว่าน่าจะเก่ากว่านั้นด้วยซ้ำ เอ...ประวัติศาสตร์ของมนุษย์ยุคใหม่เราย้อนหลังไปไกลขนาดนั้นหรือครับ แถมถ้าเป็นอารยธรรมโบราณก่อนยุคน้ำแข็งจริง สิ่งก่อสร้างนั้นคือผลงานของอารยธรรมใดกัน? สิ่งก่อสร้างมหึมาเหล่านั้นใครเป็นผู้สร้างมันเอาไว้ให้มีขนาดใหญ่โตเกิน เหตุ ในยุคโบร่ำโบราณที่อารยธรรมของมนุษย์ยังไม่ก่อกำเนิดแบบนี้




สถานที่แห่งนี้น่าจะเป็นข้อสรุปที่ดีสำหรับข้อถกเถียงในวงการโบราณคดีที่ว่า
อารยธรรมโบราณก่อนหน้าที่มนุษย์จะรู้จักและยังคงเป็นตำนานอยู่นั้นมีจริง หรือไม่ เพราะจากหลักฐานเท่าที่มีในปัจจุบัน
อารยธรรมของมนุษย์ที่พอยอมรับได้ว่าเป็นอารยธรรมมันเริ่มก่อตัวขึ้นมาเมื่อ ประมาณ 6000 ปีก่อนนี้เท่านั้นเอง
แต่น่าประหลาดมากครับ อนุสาวรีย์ที่โยนากุนิ มีลักษณะคล้ายหรือใกล้เคียงกับอนุสรณ์สถานต่างๆในอเมริกาใต้เป็นอย่างมาก
บางคนถึงกับเรียกสถานที่แห่งนี้ว่า "ปิระมิดใต้ทะเลแห่งเอเชีย" เลยทีเดียว




โบราณสถานแห่งนี้ อาจเป็นคำอธิบายที่ดี สำหรับอารยธรรมต่างๆในแถบอเมริกากลางและใต้ เช่น แอสเท็ค อินคา มายา นาซก้า ได้ว่า เหตุใดชนชาติเหล่านั้นจึงเจริญขึ้นอย่างไม่มีที่ไปที่มา และรังสรรค์งานสะท้านโลกออกมาให้มนุษย์ยุคใหม่อย่างพวกเราได้พิศวงกันจนถึง ทุกวันนี้ ทฤษฎีที่เสนอแนะว่า บรรพบุรุษหรือผู้รอดตายจากแถบโยนากุนิ ได้เดินทางข้ามมหาสมุทรไปสู่โลกใหม่นั้น สร้างความเกรียวกราวในวงการอยู่พอสมควร มีหลักฐานจากสิ่งก่อสร้างใต้น้ำมายืนยัน ว่ามันเป็นลักษณะและไสตล์ที่เหมือนกันราวกับแหล่งเดียว แต่ว่า.. ยังมีแต่อยู่นิดนึงครับ







ปริศนาที่ยังไม่คลี่คลาย

ขอย้อนอดีตไปยังปี ค.ศ. 1985 ที่โยนากุนิ อันเป็นดินแดนที่อยู่ค่อนไปทางนะวันตกเฉียงใต้ของญี่ปุ่น ใกล้ๆกับหมู่เกาะริวกิว โยนากุนิเป็นสถานที่ที่เลื่องชื่อในเรื่องของแหล่งท่องเที่ยว อาทิ เป็นที่อยู่ของตัวมอธพันธุ์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีแนวปะการังที่สวยงาม และธุรกิจสอนประดาน้ำกับการดำชมปะการังก็กำลังเฟื่องฟูในตอนนั้น แต่ละปีมีนักท่องเที่ยวจำนวนมากมายให้ความสนใจไปพักผ่อนกัน นอกจากนักท่องเที่ยวแล้ว นักวิทยาศาสตร์และนักชีววิทยาทางทะเลจำนวนไม่น้อย ก็แห่กันไปที่นั่น เพื่อศึกษาพฤติกรรมของฉลามหัวฆ้อน อันมีอยู่อย่างชุกชมและถือเป็นแหล่งที่อยู่ของฉลามหัวฆ้อนแหล่งใหญ่อีกแหล่ง ของโลกเลยครับ

ความยาวของมันครับ

... ท่ามกลางความคึกคักของแถบนี้ ยังไม่มีใครรู้เลยว่า ไกลออกไปจากชายฝั่งไม่กี่อึดใจ โยนากุนิ
ได้ซ่อนเอาโบราณสถานใต้น้ำขนาดมหึมาเอาไว้โดยไม่มีใครทราบมาก่อน
บุคคลแรกที่ค้นพบโบราณสถานใต้น้ำแห่งโยนากุนิ เป็นนักประดาน้ำท้องถิ่นชื่อ คิฮาชิโระ อาระทาเกะ เขาเป็นครูสอนประดาน้ำ

รวมทั้งเจ้าของกิจการโรงแรมเล็กๆที่มีรายได้ไม่เลว เหมือนกัน จกาปากคำของอาระทาเกะ เขาพบโบราณสถานแห่งนี้ในฤดูใบไม้ผลิของปี 1985
ในวันที่ลมสงบและทะเลไร้คลื่น ใช่แล้วครับ บรรยากาศแบบนี้นับว่าหาได้ยากยิ่ง และดูเหมือนเป็นใจให้กับการประดาน้ำอย่างที่สุด
อาระทาเกะตัดสินใจที่จะไปดำน้ำสำรวจชายฝั่งด้วยความตั้งใจสองประการคือ หนึ่ง ดำไปตามกิจวัติประจำวันของเขา และสอง
สำรวจหาแหล่งประดาน้ำและแนวปะการังใหม่ เพื่อต้อนรับลูกค้าของเขานั่นเอง



มุมที่ได้ฉากแบบพอดี



การเซาะร่อง แนวตรงเปะ ความกว้างก็สมำเสมอ




ในรูปนี้มีเหมือนเป็นหน้าคนด้วยครับ
ซูม มีตา มีจมูก แต่มีรูปบังตรงส่วนปาก


สิ่งที่อาระทาเกะค้นพบนั้นมีลักษณะคล้ายกับวิหารครับ มีความยาวมากกว่า 300 ฟุต สูง 75 ฟุต และกว้าง 100 ฟุต นับว่าใหญ่โตเอาเรื่องเลยทีเดียว หลังจากว่ายน้ำวนเวียนสำรวจอยู่ครู่ใหญ่ อาระทาเกะก็ยิ่งทึ่งในโบราณสถานใต้น้ำแห่งนี้หนักเข้าไปอีก มันมีเหลี่ยมคูที่เที่ยงตรงเหมาะเหม็ง การตัดเส้น แนวกำแพงที่ตรงแหน๋ว รวมทั้งบริเวณที่มีลักษณะคล้ายกับระเบียงวิหาร เขาเก็บภาพอีกชุดหนึ่ง แล้วจึงกลับขึ้นเรือของเขาเพื่อที่จะแจ้งข่าวใหญ่นี้ให้คนอื่นในญี่ปุ่นได้ ทราบกัน

อีกไม่กี่เดือนถัดมา นักวิทยาศาสตร์ นักโบราณคดี และผู้สนใจก็แห่กันมาที่โยนากุนิให้ควั่ก มีการตั้งไซต์ขุดค้นทางโบราณคดีเพิ่มเติม โดยกระจายวงค้นหาไปทั่วบริเวณนับตั้งแต่ชายฝั่งของโอกินาวาไปจนถึงบริเวณ หมู่เกาะริวกิว มีการค้นพบวิหารโบราณเพิ่มเติมจากเดิมเหมือนกันครับ บรรดานักสำรวจต่างก็งในความโอ่อ่าใหญ่โตของมัน แต่ก็ยังมีลักษณะแปลกๆของวิหารเหล่านี้อยู่ นั่นคือมันใหญ่โตเกินไปที่จะมาจากฝีมือของมนุษย์ หลายคนเสนอว่า โบราณสถานเหล่านี้ไม่น่าจะใช่โบราณสถานอย่างที่คิด มันอาจจะเป็นผลงานของธรรมชาติอันเป็นผลพวงจากการเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยา ที่บังเอิญรูปร่างรูปทรงของมัน ดันมาคล้ายวิหารหรือโบราณสถานโบราณให้คนที่ได้พบเห็นแตกตื่นเล่นเท่านั้นเอง ก็แล้วแต่จะว่ากันไปล่ะครับ

อย่างไรก็ตาม หนึ่งในทีมงานสำรวจ Professor Masaaki Kimura แห่งมหาวิทยาลัยริวกิวได้ลงความเห็นว่า โบราณสถานเหล่านี้ น่าจะเกิดขึ้นด้วยน้ำมือของมนุษย์มากกว่า เขาเชื่อมโยงลักษณะของโบราณสถานเข้ากับบรรดาปราสาทหิน และสุสานโบราณบนหมู่เกาะน้อยใหญ่ในบริเวณใกล้เคียง และชี้ว่ามันเป็นสถาปัตยกรรมที่ใกล้เคียงกันมาก โถ.. แม้แต่หลักฐานที่หลงเหลือบนเกาะ ก็ยังไม่มีใครทราบเลยครับว่ามันมาจากไหน ต่อให้รู้ว่ามันมาจากแหล่งเดียวกัน คำตอบที่วงการวิทยาศาสตร์และโบราณคดีต้องการก็ยังไม่กระจ่างแจ้งอยู่ดีแหละ น่า


แม้ Professor Masaaki Kimura จะลงความเห็นว่า โบราณสถานแห่งโยนากุนิจะเกิดขึ้นจากฝีมือของมนุษย์ แต่นักวิทยาศาสตร์กลุ่มอื่นในญี่ปุ่นไม่เห็นด้วยกับเขาอย่างสิ้นเชิง หลายกลุ่มเสนอแนวคิดว่า การเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยาทำให้โบราณสถานแห่งโยนากุนิมีรูปทรงดังกล่าว เช่นการเปลี่ยนแปลงหรือการกระเทาะของเปลือกโลก อย่าเพิ่งหัวเราะไปนะครับ ใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้ที่ธรรมชาติจะรังสรรค์สิ่งมหัศจรรย์นี้ขึ้นมา ฉากมุม 90 องศาของโบราณสถานสามารถเกิดขึ้นได้ตามธรรมชาติพอๆกับการเกิดของคริสตัลที่ เหลี่ยมมุมพิศดารกว่านี้น่านล่ะครับ


ข่าวคราวของโบราณสถานใต้น้ำโด่งดังจนลอยไปเข้าหูของนักสำรวจชาวตะวันตก หลายคนมีความหวังเกี่ยวกับแอตแลนติสตะวันออกขึ้นมา ภายใต้การสำรวจที่เต็มไปด้วยปัญหาและอุปสรรค พวกเขามีข้อสรุปหลายอย่างที่น่าสนใจออกมาครับ ซึ่งผมจะเก็บความเอามาเล่าในตอนต่อๆไป ตอนนี้ก็ดูรูปไปพลางๆก่อนนะครับ พิจารณาด้วยสายตาของท่านเองว่า โบราณสถานเหล่านี้ เป็นฝีมือของธรรมชาติหรือเกิดจากอารยธรรมโบราณที่เรายังไม่รู้จักกันแน่


ที่มา: 
http://allmysteryworld.blogspot.com/2011/06/blog-post_20.html#.Ud4eBqLwkjU

ประวัติศาสตร์อียิปต์

                                                                  ประวัติศาสตร์อียิปต์

ราชวงศ์ที่หนึ่งถึงราชวงศ์ที่แปด
ยุคนี้เมืองหลวงของอียิปต์คือ นครเมมฟิส (Memphis) โดยมีพระเจ้าเมเนส (Menes) เป็นฟาโรห์พระองค์แรกที่ปกครองอียิปต์ทั้งหมด ชาวอียิปต์โบราณเชื่อว่า องค์ฟาโรห์คือร่างประทับของสุริยเทพ ที่ลงมาปกครองมนุษย์


    การเมืองการปกครอง: ในสังคมอียิปต์มีการแบ่งออกเป็นสามชนชั้น คือ ชนชั้นสูงได้แก่ เชื้อพระวงศ์ นักบวช ขุนนาง ชนชั้นกลางได้แก่ พ่อค้า เสมียน ช่างฝีมือ และชนชั้นล่างคือพวกชาวนาและผู้ใช้แรงงาน นอกจากฟาโรห์แล้ว บุคคลที่มีอำนาจมากที่สุดคือหัวหน้านักบวชของสุริยเทพ รา ซึ่งเป็นจอมเทพสูงสุด ในการบริหารงาน ฟาโรห์จะมีคณะเสนาบดีที่นำโดย วิเซียร์ (Vizier) ซึ่งเป็นตำแหน่งขุนนางสำคัญ เป็นผู้ช่วย และส่งข้าหลวง (Nomarch) ไปทำหน้าที่ปกครองหัวเมืองต่างๆ โดยขึ้นตรงต่อองค์กษัตริย์ ในยุคอาณาจักรเก่านี้ อียิปต์ไม่มีกองทหารประจำการ แต่จะเกณฑ์พลเมืองเข้ากองทัพเมื่อเกิดสงคราม

    ความเชื่อ: เดิมทีก่อนการรวมแผ่นดิน หัวเมืองต่างๆทั้งในอียิปต์บน และ ล่าง ต่างนับถือเทพต่างๆกันต่อมาเมื่อรวมแผ่นดินแล้วก็ยังคงความเชื่อแบบพหุเทวนิยม อยู่ โดยมี รา (RA) เป็นเทพสูงสุด ชาวอียิปต์เชื่อว่าพระองค์เป็นผู้สร้างโลกและสวรรค์รวมทั้งสิ่งมีชีวิตทั้งปวง นอกจาก รา แล้ว เทพที่ชาวอียิปต์นับถือกันมากได้แก่ โอซิริส เทพแห่งยมโลกผู้มีหน้าที่ตัดสินดวงวิญญาณ , เทพีไอซิสเทพีแห่งความอุดมสมบูรณ์ ,เซ็ท เทพแห่งสงคราม ,ฮาธอร์เทพีแห่งความรัก และฮอรัส เทพผู้เป็นตัวแทนของฟาโรห์ทุกพระองค์ นอกจากนี้ยังมีเทพอื่นๆที่ถือเป็นเทพเจ้าประจำแต่ละเมือง
ชาวอียิปต์โบราณทำอิฐตากแห้ง
จับปลาในแม่น้ำไนล์โดยใช้เรือต้นกก
การล่าสัตว์ป่าในเขตดินสีแดง
    วิถีชีวิต:ชาวอียิปต์โบราณดำรงชีวิตด้วยการกสิกรรม โดยเฉพาะในเขตที่ราบน้ำท่วมถึงหรือที่เรียกว่าเขตดินสีดำที่ชื่อว่า เคเมต เป็นดินแดนที่อุดมสมบูรณ์ การเพาะปลูกได้ผลดี พืชผลที่ได้จะถือเป็นสมบัติของฟาโรห์และจะมีการแจกจ่ายแก่ประชาชนอย่างเหมาะสม พืชที่นิยมปลูกกันคือข้าวสาลีและข้าวบาเล่ย์ โดยพวกเขาจะใช้ข้าวสาลีทำขนมปังและทำเบียร์จากข้าวบาเล่ย์ ซึ่งทั้งสองอย่างนี้เป็นอาหารหลัก ของชาวอียิปต์โบราณ และพืชผลเหล่านี้ยังใช้เป็นสินค้าส่งออกไปยังดินแดนอื่นๆอีกด้วยนอกจากการเพาะปลูกแล้วชาวอียิปต์ยังทำการจับปลา ล่านกน้ำและฮิปโปโปเตมัสในแม่น้ำไนล์โดยใช้เรือที่ผูกจากต้นกก ส่วนในเขตดินสีแดงที่เรียกว่า เชเครต ซึ่ง อยู่ในเขตอียิปต์บนพวกเขาจะทำการล่าสัตว์ป่าอย่าง แอนทีโลป และแพะป่า ซึ่งมีอยู่มากมาย บ้านเรือนของชาวอียิปต์สร้างจากอิฐตากแห้งและใช้ไม้ทำส่วนประกอบอย่างกรอบประตูเนื่องจากในอียิปต์ไม้ค่อนข้างหายาก บ้านแต่ละหลังจะมีบันไดขึ้นดาดฟ้าเนื่องจากชาวอียิปต์จะใช้ดาดฟ้าเป็นที่ทำงานต่างๆเช่นการทำขนมปัง หรือแม้แต่เป็นที่พักผ่อนนั่งคุย
อักษรเฮียโรกลิฟฟิค
    อักษรอียิปต์: ชาวอียิปต์ใช้อักษรภาพที่เรียก ว่าเฮียโรกลิฟฟิค (Hieroglyphic) ซึ่งมีทั้งแบบที่เป็นรูปภาพและแบบที่เป็นสัญลักษณ์ประกอบเป็นคำ โดยจะบันทึกลงในแผ่นหินและม้วนกระดาษปาปิรัสซึ่งทำจากต้นกก ตัวอักษรอียิปต์มีประมาณ 1000 ตัว ในสมัยก่อน ผู้ที่สามารถอ่านเขียนอักษรเฮียโรกลิฟฟิคได้คล่องแคล่วจะมีโอกาสได้ทำงานเป็นอาลักษณ์ ซึ่งจะทำให้มีโอกาสที่จะเลื่อนขึ้นเป็นขุนนาง หรือนักบวชสำคัญได้ สำหรับอักษรของอียิปต์นั้น นับแต่อารยธรรมล่มสลายลงไปก็ไม่มีใครสามารถตีความได้ จนกระทั่งได้มีการค้นพบ ศิลาจารึก โรเซทต้า (ROSETTA) ในปี ค.ศ. 1799 ที่มีจารึกอักษรเฮียโรกลิฟฟิคกับอักษรกรีกโบราณเอาไว้ ฟรองซัวส์ ชองโพลียอง ใช้วิธีการค้นคว้าโดยอ่านเทียบกับอักษรกรีกโบราณ และสามารถตีความได้สำเร็จในปี 1822
การทำมัมมี่
    การทำมัมมี่:ถูกทำขึ้นในสมัยราชวงศ์ที่4และมีเรื่อยมาจนถึงค.ศ.641 ชาวอียิปต์เชื่อว่าหลังจากที่มนุษย์ ตายไปแล้วดวงวิญญาณจะกลับมาเกิดใหม่ในร่างเดิมจึงต้องเก็บร่างเอาไว้เพื่อรอรับการเกิดใหม่ในยุค อาณาจักรเก่าเชื่อว่ามีเพียงฟาโรห์เท่านั้นที่จะกลับมาคืน ร่างเดิมแต่ในสมัยต่อมาการทำมัมมี่ได้แพร่หลายสู่ขุนนางและสามัญชนแม้กระทั่งสัตว์ที่เป็นสัญลักณ์ ของเทพเจ้าในการทำมัมมี่ชาวอียิปต์จะนำสมองและอวัยวะภายในออกจากศพและนำศพไปชำระล้างใน แม่น้ำไนล์จากนั้นจะนำไปแช่ในน้ำยานาตรอน(Natron)ซึ่งเป็นสารพวกsodium Carbonate โดยเปลี่ยนน้ำยาทุกสามวันและแช่ประมาณหกสิบวันจนศพแห้งและนำมาพันด้วยผ้าลินิน ส่วนอวัยวะภายในและสมองจะนำไปผสมกับเครื่องหอมและทำให้แห้งด้วยสมุนไพรจากนั้น จึงนำไปดองในน้ำยานาตรอนประมาณหนึ่งสัปดาห์ก่อนจะนำมาเก็บในโถคาโนปิก (Canopic) สี่ใบและนำไปเก็บรวมกับหีบศพในสุสานพร้อมข้าวของเครื่องใช้และสมบัติเพื่อรอการกลับมาของวิญญาณ
มาสตาบา (Mastaba)
พีระมิดยักษ์ของฟาโรห์คูฟู
    พีระมิดยักษ์: เป็นสิ่งก่อสร้างที่มหัศจรรย์ที่สุด เดิมทีฟาโรห์จะสร้างห้องเก็บพระศพขนาดใหญ่เป็น สุสาน ต่อมาในสมัยของฟาโรห์โซเซอร์ แห่งราชวงศ์ที่สาม (2650ปีก่อน ค.ศ.) อิมโฮเทปที่ปรึกษาของฟาโรห์ ซึ่งเป็นนักปราชญ์และสถาปนิกที่มีความสามารถ ได้ทำการออกแบบ พีระมิดขั้นบันไดที่เรียกว่า มาสตาบา (Mastaba) ที่เมืองซักคาราขึ้น นอกจากเป็นผู้ออกแบบพีระมิดแล้ว อิมโฮเทปยังมีผลงานประพันธ์ต่างๆมากมายทั้งวรรณคดีและตำราเภสัชศาสตร์ ชาวอียิปต์รุ่นหลังนับถือเขาในฐานะเทพแห่งความรู้ หลังจากยุคของฟาโรห์โซเซอร์ ก็ได้มีการสร้างพีระมิดขั้นบันไดต่อมาและค่อยๆพัฒนากลายเป็นแบบสามเหลี่ยม โดยพีระมิดที่มีชื่อเสียงที่สุดคือ พีระมิดยักษ์ของฟาโรห์คูฟูที่เมืองกีซา ซึ่งมีความสูงถึง 147 เมตรและได้ชื่อว่า เป็นพีระมิดที่ใหญ่ที่สุดในโลก
    การต่างประเทศ:ในยุคอาณาจักรเก่าอียิปต์มีการค้าขายกับเพื่อนบ้านทั้งในเมโสโปเตเมีย (อยู่ในตะวันออกกลาง)และอาณาจักรนูเบียทางภาคใต้(ปัจจุบันคือซูดาน)ในยุคนี้ไม่มีการใช้เงิน การค้าจะทำในแบบของแลกของ โดยสินค้าออกสำคัญของอียิปต์คือพืชผลทางการเกษตร แลกกับสินค้าพวกไม้หอม งาช้าง เครื่องแกะสลัก เป็นต้น แทบไม่มีหลักฐานของการสงครามขนาดใหญ่ในยุคนี้นอกจากหลักฐานการรบกับพวกเรร่อนเบดูอิน ในพรมแดนปาเลสไตน์สมัยฟาโรห์เปปิที่1 แห่งราชวงศ์ที่6 กล่าวได้ว่าสงครามใหญ่เพียงครั้งเดียวของยุคนี้คือสงครามรวมชาติตอนต้นราชวงศ์ที่หนึ่งเท่านั้น

วันพุธที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ประวัติโรงเรียนเทพศิรินทร์ เชียงใหม่




 ประวัติโรงเรียน               
 โรงเรียนเทพศิรินทร์  เชียงใหม่  เดิมชื่อโรงเรียนน้ำบ่อหลวงวิทยาคม
ได้เริ่มก่อตั้งขึ้นจากคณะสงฆ์  กำนันผู้ใหญ่บ้าน ครู พ่อค้าคหบดี  ในตำบลสัน-กลาง ตำบลบ้านแม และตำบลยุหว่า  ซึ่งได้มีความเห็นร่วมกันว่า สมควรจัดตั้งโรงเรียนมัธยม-ศึกษาประจำตำบลขึ้นโดยใช้พื้นที่สาธารณะหน้า วัดวนาราม-น้ำบ่อหลวง หมู่ที่ 5 ตำบลสันกลาง (หมู่ที่ 2 ตำบลน้ำบ่อหลวงในปัจจุบัน)  โดยได้เสนอผ่านอำเภอสันป่าตอง    ตามหนังสือที่   ชม.61/4520    ลงวันที่ 13 พฤศจิกายน  2521  และกรมสามัญศึกษาได้ประกาศให้ตั้งโรงเรียนมัธยมศึกษาประจำตำบลขึ้น  ใช้ชื่อ "โรงเรียนน้ำบ่อหลวงวิทยาคม" ลงวันที่ 12 กุมภาพันธ์2522  และได้เริ่มก่อสร้างอาคารเรียนชั่วคราว 2 หลัง  และห้องส้วม  ขนาด 3 ที่นั่งโดยได้รับบริจาคจากประชาชนในท้องที่ 3 ตำบล มีนายโสภา  สุวรรณศรีคำศึกษาธิการอำเภอในขณะนั้น  รักษาราชการแทน    ในตำแหน่งครูใหญ่   ต่อมากรมสามัญศึกษาได้ส่งนายองอาจ  เจริญเวช มาเป็นครูใหญ่  มีครู 5 คนเปิดสอนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีนักเรียนรุ่นแรก 45 คน  ต่อมาในปี 2530 ได้รับคัดเลือกเข้าในโครงการ    มพช.2 รุ่นที่ 2       จึงได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียน  โรงฝึกงาน  และปรับปรุงบริเวณ   โรงเรียนน้ำบ่อหลวงวิทยาคมได้รับการรับรองเป็นโรงเรียนต้นแบบโรงเรียนในฝันในปี พ.ศ. 2548    ปัจจุบันเปิดสอนในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึง ปีที่ 6 เข้าร่วมเครือข่ายโรงเรียนเทพศิรินทร์  ในปีการศึกษา 2550 โดยได้รับความเห็นชอบและสนับสนุน   จากคณะกรรมการโรงเรียนเทพศิรินทร์  และสมาคมนักเรียนเก่าเทพศิรินทร์   ในพระบรมราชูปถัมภ์โรงเรียนเทพศิรินทร์ (ชื่อภาษาอังกฤษ: Debsirin School) เป็นโรงเรียนรัฐบาลสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งอยู่เลขที่ 1466 ถนนกรุงเกษม แขวงวัดเทพศิรินทราวาส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร โรงเรียนเทพศิรินทร์เป็นโรงเรียนชายล้วนซึ่งได้ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2428 ตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ปัจจุบันนี้โรงเรียนเทพศิรินทร์เป็นโรงเรียนรัฐบาลที่เก่าแก่ที่สุดเป็นอันดับ 2 ของประเทศและได้เป็นหนี่งในโรงเรียนเครือจตุรมิตรซึ่งประกอบด้วย โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย โรงเรียนเทพศิรินทร์ โรงเรียนอัสสัมชัญ และโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย เรียงตามลำดับที่ปรากฏในเพลงจตุรมิตรสามัคคี ซึ่งเป็นโรงเรียนในเขตกรุงเทพมหานครด้วยกันได้มีการแข่งขันฟุตบอลประเพณีและ การแปรอักษรร่วมกันทุกๆ2ปี
 ในปี พ.ศ. 2419 องค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระชนมายุครบเบญจเพส จึงมีพระราชดำริที่จะสร้างพระอารามเพื่อทรงอุทิศพระราชกุศลถวายสนองพระเดชคุณแด่องค์พระราชชนนี คือ สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาวัดเทพศิรินทราวาสขึ้น
โรงเรียน เทพศิรินทร์ ได้รับการสถาปนาจาก องค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2428 ด้วยพระราชปรารภที่จะทำนุบำรุงการศึกษาเล่าเรียนให้เจริญแพร่หลายขึ้นโดยรวด เร็วจึงมีพระบรมราชโองการให้จัดการศึกษาสำหรับราษฎรขึ้น โดยพระเจ้าน้องยาเธอพระองค์เจ้าดิศวรกุมาร (กรมพระยาดำรงราชานุภาพ) ได้จัดตั้งโรงเรียนปริยัติธรรมบาลี ขึ้นภายใน วัดเทพศิรินทราวาส โดย ในช่วงแรกของการจัดตั้งโรงเรียนนั้น โรงเรียนเทพศิรินทร์ได้อาศัยศาลาการเปรียญภายในวัดเทพศิรินทราวาสเป็นที่ทำ การเรียนการสอน
ครั้นถึง พ.ศ. 2438 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ได้ทรงดำริที่จะสร้างตึกเรียนสำหรับวัดเทพศิรินทราวาสขึ้น เพื่ออุทิศพระกุศล สนองพระเดชพระคุณแห่งองค์ สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี พระชนนี และเพื่ออุทิศพระกุศลแก่ หม่อมแม้น ภาณุพันธุ์ ณ อยุธยา ชายาของพระองค์ ตึกเรียนหลังแรกนี้ได้รับการออกแบบให้มีศิลปะเป็นแบบโกธิคซึ่งถือว่าเป็นอาคารศิลปะโกธิคยุคแรกและมีที่เดียวในประเทศไทยโดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าจิตรเจริญ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์เป็นผู้ออกแบบ และในการนี้ พระยาโชฏึกราชเศรษฐี ได้บริจาคทุนทรัพย์เพื่อสร้างตึกอาคารเรียนขึ้นด้านข้างของตึกเรียนหลังแรกอีกด้วย
ตราประจำโรงเรียนเทพศิรินทร์
ภาพอาทิตย์อุทัยทอแสงบนพื้นน้ำทะเล หมายถึง “ภาณุรังษี” และ “วังบูรพาภิรมย์” โดย “ภาณุรังษี” นี้เป็นพระนามของสมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ผู้ทรงประทานตรานี้ให้แก่โรงเรียนเมื่อปี พ.ศ. 2467 พระองค์มีพระคุณอเนกอนันต์แก่โรงเรียน อาทิทรงเป็นผู้ทูลขอให้ทรงสถาปนาโรงเรียนต่อองค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อปี พ.ศ. 2548 ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นการสถาปนาโรงเรียนแบบถาวรและทรงถือว่าโรงเรียนนี้เป็นโรงเรียนในดูแลของพระองค์ด้วย   

โรงเรียนเทพศิรินทร์  เชียงใหม่   เป็นโรงเรียนเครือข่าย ลำดับที่ 8 โดยเริ่มนับจาก           
ลำดับที่ 1 โรงเรียนเทพศิรินทร์                       
ลำดับที่ 2 โรงเรียนเทพศิรินทร์ร่มเกล้า                                            
ลำดับที่ 3 โรงเรียนเทพศิรินทร์คลองสิบสาม  ปทุมธานี
ลำดับที่ 4 โรงเรียนเทพศิรินทร์  นนทบุรี
ลำดับที่ 5 โรงเรียนเทพศิรินทร์  พุแค                                         
ลำดับที่ 6 โรงเรียนเทพศิรินทร์ลาดหญ้า  กาญจนบุรี                         
ลำดับที่ 7 โรงเรียนเทพศิรินทร์  ขอนแก่น 

วิสัยทัศน์
โรงเรียนเทพศิรินทร์  เชียงใหม่  เป็นแหล่งเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียน  ให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา  โดยมุ่งเน้นความสามารถด้านเทคโนโลยี  ภาษาต่างประเทศและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและสาธารณสมบัติ

พันธกิจ
  1. พัฒนาคุณภาพของผู้เรียนให้ได้ระดับมาตรฐานการศึกษา
  2. พัฒนาครูให้มีความรู้  ความสามารถตามจรรยาบรรณและมาตรฐานวิชาชีพ
  3. พัฒนาระบบบริหารการจัดการ
  4. พัฒนาสภาพบรรยากาศ  สิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียน

 เป้าประสงค์
 นักเรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษา  มีความสามารถด้านเทคโนโลยี  ภาษาต่างประเทศ  และมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและสาธารณสมบัติ