
ประวัติโรงเรียน
โรงเรียนเทพศิรินทร์ เชียงใหม่ เดิมชื่อโรงเรียนน้ำบ่อหลวงวิทยาคม
ได้เริ่มก่อตั้งขึ้นจากคณะสงฆ์ กำนันผู้ใหญ่บ้าน ครู พ่อค้าคหบดี ในตำบลสัน-กลาง ตำบลบ้านแม และตำบลยุหว่า ซึ่งได้มีความเห็นร่วมกันว่า สมควรจัดตั้งโรงเรียนมัธยม-ศึกษาประจำตำบลขึ้นโดยใช้พื้นที่สาธารณะหน้า วัดวนาราม-น้ำบ่อหลวง หมู่ที่ 5 ตำบลสันกลาง (หมู่ที่ 2 ตำบลน้ำบ่อหลวงในปัจจุบัน) โดยได้เสนอผ่านอำเภอสันป่าตอง ตามหนังสือที่ ชม.61/4520 ลงวันที่ 13 พฤศจิกายน 2521 และกรมสามัญศึกษาได้ประกาศให้ตั้งโรงเรียนมัธยมศึกษาประจำตำบลขึ้น ใช้ชื่อ "โรงเรียนน้ำบ่อหลวงวิทยาคม" ลงวันที่ 12 กุมภาพันธ์2522 และได้เริ่มก่อสร้างอาคารเรียนชั่วคราว 2 หลัง และห้องส้วม ขนาด 3 ที่นั่งโดยได้รับบริจาคจากประชาชนในท้องที่ 3 ตำบล มีนายโสภา สุวรรณศรีคำศึกษาธิการอำเภอในขณะนั้น รักษาราชการแทน ในตำแหน่งครูใหญ่ ต่อมากรมสามัญศึกษาได้ส่งนายองอาจ เจริญเวช มาเป็นครูใหญ่ มีครู 5 คนเปิดสอนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีนักเรียนรุ่นแรก 45 คน ต่อมาในปี 2530 ได้รับคัดเลือกเข้าในโครงการ มพช.2 รุ่นที่ 2 จึงได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียน โรงฝึกงาน และปรับปรุงบริเวณ โรงเรียนน้ำบ่อหลวงวิทยาคมได้รับการรับรองเป็นโรงเรียนต้นแบบโรงเรียนในฝันในปี พ.ศ. 2548 ปัจจุบันเปิดสอนในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึง ปีที่ 6 เข้าร่วมเครือข่ายโรงเรียนเทพศิรินทร์ ในปีการศึกษา 2550 โดยได้รับความเห็นชอบและสนับสนุน จากคณะกรรมการโรงเรียนเทพศิรินทร์ และสมาคมนักเรียนเก่าเทพศิรินทร์ ในพระบรมราชูปถัมภ์โรงเรียนเทพศิรินทร์
(ชื่อภาษาอังกฤษ: Debsirin
School) เป็นโรงเรียนรัฐบาลสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งอยู่เลขที่ 1466 ถนนกรุงเกษม
แขวงวัดเทพศิรินทราวาส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร
โรงเรียนเทพศิรินทร์เป็นโรงเรียนชายล้วนซึ่งได้ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2428 ตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ปัจจุบันนี้โรงเรียนเทพศิรินทร์เป็นโรงเรียนรัฐบาลที่เก่าแก่ที่สุดเป็นอันดับ 2 ของประเทศและได้เป็นหนี่งในโรงเรียนเครือจตุรมิตรซึ่งประกอบด้วย
โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย โรงเรียนเทพศิรินทร์ โรงเรียนอัสสัมชัญ
และโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย เรียงตามลำดับที่ปรากฏในเพลงจตุรมิตรสามัคคี
ซึ่งเป็นโรงเรียนในเขตกรุงเทพมหานครด้วยกันได้มีการแข่งขันฟุตบอลประเพณีและ
การแปรอักษรร่วมกันทุกๆ2ปี
ในปี
พ.ศ. 2419 องค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระชนมายุครบเบญจเพส
จึงมีพระราชดำริที่จะสร้างพระอารามเพื่อทรงอุทิศพระราชกุศลถวายสนองพระเดชคุณแด่องค์พระราชชนนี
คือ สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้สถาปนาวัดเทพศิรินทราวาสขึ้น
โรงเรียน
เทพศิรินทร์ ได้รับการสถาปนาจาก องค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
เมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2428
ด้วยพระราชปรารภที่จะทำนุบำรุงการศึกษาเล่าเรียนให้เจริญแพร่หลายขึ้นโดยรวด
เร็วจึงมีพระบรมราชโองการให้จัดการศึกษาสำหรับราษฎรขึ้น โดยพระเจ้าน้องยาเธอพระองค์เจ้าดิศวรกุมาร
(กรมพระยาดำรงราชานุภาพ) ได้จัดตั้งโรงเรียนปริยัติธรรมบาลี ขึ้นภายใน
วัดเทพศิรินทราวาส โดย ในช่วงแรกของการจัดตั้งโรงเรียนนั้น
โรงเรียนเทพศิรินทร์ได้อาศัยศาลาการเปรียญภายในวัดเทพศิรินทราวาสเป็นที่ทำ
การเรียนการสอน
ครั้นถึง
พ.ศ. 2438 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์
กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช
ได้ทรงดำริที่จะสร้างตึกเรียนสำหรับวัดเทพศิรินทราวาสขึ้น เพื่ออุทิศพระกุศล
สนองพระเดชพระคุณแห่งองค์ สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี พระชนนี
และเพื่ออุทิศพระกุศลแก่ หม่อมแม้น ภาณุพันธุ์ ณ อยุธยา ชายาของพระองค์
ตึกเรียนหลังแรกนี้ได้รับการออกแบบให้มีศิลปะเป็นแบบโกธิคซึ่งถือว่าเป็นอาคารศิลปะโกธิคยุคแรกและมีที่เดียวในประเทศไทยโดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าจิตรเจริญ
กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์เป็นผู้ออกแบบ และในการนี้ พระยาโชฏึกราชเศรษฐี
ได้บริจาคทุนทรัพย์เพื่อสร้างตึกอาคารเรียนขึ้นด้านข้างของตึกเรียนหลังแรกอีกด้วย
ภาพอาทิตย์อุทัยทอแสงบนพื้นน้ำทะเล
หมายถึง “ภาณุรังษี” และ “วังบูรพาภิรมย์” โดย “ภาณุรังษี” นี้เป็นพระนามของสมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข
เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช
ผู้ทรงประทานตรานี้ให้แก่โรงเรียนเมื่อปี พ.ศ. 2467
พระองค์มีพระคุณอเนกอนันต์แก่โรงเรียน
อาทิทรงเป็นผู้ทูลขอให้ทรงสถาปนาโรงเรียนต่อองค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
เมื่อปี พ.ศ. 2548
ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นการสถาปนาโรงเรียนแบบถาวรและทรงถือว่าโรงเรียนนี้เป็นโรงเรียนในดูแลของพระองค์ด้วย
โรงเรียนเทพศิรินทร์ เชียงใหม่ เป็นโรงเรียนเครือข่าย ลำดับที่ 8 โดยเริ่มนับจาก
ลำดับที่ 1 โรงเรียนเทพศิรินทร์
ลำดับที่ 2 โรงเรียนเทพศิรินทร์ร่มเกล้า
ลำดับที่ 3 โรงเรียนเทพศิรินทร์คลองสิบสาม ปทุมธานี
ลำดับที่ 4 โรงเรียนเทพศิรินทร์ นนทบุรี
ลำดับที่ 5 โรงเรียนเทพศิรินทร์ พุแค
ลำดับที่ 6 โรงเรียนเทพศิรินทร์ลาดหญ้า กาญจนบุรี
ลำดับที่ 7 โรงเรียนเทพศิรินทร์ ขอนแก่น
วิสัยทัศน์
โรงเรียนเทพศิรินทร์ เชียงใหม่ เป็นแหล่งเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียน ให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา โดยมุ่งเน้นความสามารถด้านเทคโนโลยี ภาษาต่างประเทศและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและสาธารณสมบัติ
พันธกิจ
1. พัฒนาคุณภาพของผู้เรียนให้ได้ระดับมาตรฐานการศึกษา
2. พัฒนาครูให้มีความรู้ ความสามารถตามจรรยาบรรณและมาตรฐานวิชาชีพ
3. พัฒนาระบบบริหารการจัดการ
4. พัฒนาสภาพบรรยากาศ สิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียน
เป้าประสงค์
นักเรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษา มีความสามารถด้านเทคโนโลยี ภาษาต่างประเทศ และมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและสาธารณสมบัติ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น